เทคนิคการอ่านหนังสือให้จำได้ง่ายขึ้น

258 อ่าน

เทคนิคการอ่านหนังสือให้จำได้ง่ายขึ้น

มีเวลาน้อย เรียนไม่ทัน กิจกรรมเยอะ และอีกเหตุผลหลาย ๆ อย่างที่ทำให้ไม่สามารถอ่านหนังสือทีละมาก ๆ หรือให้ทันต่อเวลาที่มีจำกัดอยู่อย่างน้อยนิด ยิ่งหากเปรียบเทียบจากสถิติของการอ่านหนังสือของคนไทยแล้ว นับว่าน้อยมาก เพราะผลวิจัยจากหลาย ๆ ที่ หรืองานวิชาการต่าง ๆ ก็ชี้ให้เห็นแล้วว่าคนไทยไม่ชอบอ่านหนังสือ จึงทำให้วิธีอ่านหนังสือไม่ถูกจัดแยกหรือวางระเบียบให้ชัดเจน และไม่เกิดผลลัพธ์ที่ดีมีประสิทธิภาพ นี่คือเหตุผลหนึ่งที่มีคนจำนวนมากกำลังหาแนวทาง วิธีการหรือเทคนิคต่าง ๆ เพื่อหาวิธีอ่านหนังสือให้เข้าใจมากขึ้น เพราะไม่ว่าจะเป็นทั้งเพื่อการเรียน การศึกษาระดับต่าง ๆ การสอบแข่งขันเพื่อเข้าทำงานหรือพัฒนาตนเอง ล้วนแต่มีข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีเทคนิควิธีการในการวางแผนเพื่อการอ่านหนังสือที่ดีและมีประสิทธิภาพ ที่สามารถนำไปปฏิบัติกันได้จริง และเป็นเทคนิควิธีการอ่านหนังสือง่าย ๆ ดังนี้

1.การเลือกอ่านในสิ่งที่ตนเองสนใจก่อนเป็นอันดับแรก เอาง่าย ๆ คือ คิดว่าเป็นเรื่องที่ง่ายที่สุด อ่านแล้วเข้าใจ หรือเราอาจมีพื้นฐานความสนใจเข้าใจในเรื่องนี้มาก พอเราสามารถอ่านได้ก็จะทำให้เกิดการเรียกสมาธิ และทีนี้มันจะมีแนวทางหรือวิธีการจำของตัวเองว่าหลักการในการคิดหรือการจำนั้นเป็นลักษณะอย่างไร ซึ่งจะทำให้ง่ายและสามารถเป็นแรงจูงใจนำมาใช้กับการอ่านหนังสือเรื่องอื่น ๆ ได้ดีอีกด้วย

2.กำหนดตารางอ่าน การสร้างขอบเขต หรืออาณาจักรการอ่านหนังสือ โดยการวางตารางการอ่านไว้เพื่อให้มองเห็นภาพรวมคร่าว ๆ ว่าเราจะมีกำลังในการอ่านหนังสือได้ดี และทันเวลาได้ขนาดไหน เพราะเมื่อเราสามารถมองภาพรวมกว้าง ๆ ได้ทั้งหมดเราก็จะรู้ตัวเองว่าจะสามารถกำหนดทิศทาง หรือผลลัพธ์ในการอ่านหนังสือครั้งนี้ได้ชัดเจนขึ้น

3.การเขียนผังความคิด เชื่อมโยงกัน คือขั้นตอนของการอ่านหนังสือโดยถือว่าเป็นการลงมืออ่านในเนื้อหาแต่ละเนื้อหาแบบเจาะจงเป็นเรื่อง ๆ โดยเราสามารถเอาขอบเขตของเนื้อหา หรือหัวข้อหลัก ๆ มากำหนดเป็นแผนภาพ Mapping หรือจดเป็นตารางหัวข้อเพื่อแยกบท แล้วค่อยนำเอามาเชื่อมโยงกันเป็นเรื่องราวในภายหลัง ถือเป็นวิธีอ่านหนังสือที่น่าสนใจ และสร้างผลลัพธ์ได้ดีอีกด้วย

4.การจด วาด แยกสี เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่มีผลงานการวิจัยแล้วว่าสามารถแยกระบบประสาท สมองของมนุษย์เพื่อการจดจำได้ดีกว่าสีเดียว

5.จินตนาการตามความเป็นจริง อิงสถานการณ์ เป็นการต่อยอดออกมาจากวิธีอ่านหนังสือรูปแบบอื่น ๆ ที่นำเอามาคิด จินตนาการต่อยอดเพื่อการเชื่อมโยงให้เข้ากับสถานการณ์ หรือภาพในความคิด เพราะการอ่านจะถูกจำได้น้อยกว่าการจำภาพ เหมือนถ้าเราต้องจำบทความอะไรสักอย่างก็ไม่สามารถจำมาได้ทั้งหมด แต่เราสามารถจำภาพ หรืออธิบายภาพได้ดีกว่าการอ่านจากบทความ ถือว่าเป็นเทคนิควิธีอ่านหนังสือที่แปลกแต่ได้ผลมากเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตามทุกสิ่งจะสำเร็จนั้นล้วนต้องเกิดจากความตั้งใจ การออกแบบความคิดตามเนื้อหาแล้วคิดตามสถานการณ์  การมีวินัย ถือเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องประเมินตนเองและหาแนวทาง เพื่ออย่างน้อยจะได้รู้จักตนเอง เอาความสามารถตนเองมาปรับใช้ หรือเอาเทคนิควิธีอ่านหนังสือแต่ละรูปแบบมาปรับเข้าด้วยกันเพื่อความเป็นไปได้และเหมาะสมกับพื้นฐานของแต่ละบุคคล